Bookmark and Share Add to Favorites  
สมาคม
  LIN (SURNAME)
   China's Lin Clan Network
   Chaoshan Lin
   สมาคมตระกูลลิ้มแห่งประเทศไทย
  ชุมชนชาวฮากกา
หนังสือพิมพ์
  ซินหัวไทย
  China Daily
  China News
  People's Daily Online
  Xinhua
  China Youth Daily
  Bangkokpost
  มติชน
  ไทยรัฐ
  เดลินิวส์
  ผู้จัดการ
  คมชัดลึก
  กรุงเทพธุรกิจ
  บ้านเมือง
  แนวหน้า
  ไทยโพสต์
  โพสต์ทูเดย์
  สยามรัฐ
  บางกอกทูเดย์
  โลกวันนี้
  เส้นทางเศรษฐกิจ
  มติชนสุดสัปดาห์
มุมนักเสี่ยงโชค
  ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
  ตรวจสลากย้อนหลัง
  ผลสลากออมสิน
  ธกส.ออมทรัพย์ทวีสิน
แลกเปลี่ยนเงินตราและหุ้น
  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  ธนาคารไทยพาณิชย์
  ธนาคารกรุงเทพ
  ตลาดหลักทรัพย์ - หุ้น
  ตลาดหุ้น
เว็บเครือข่าย
  สมบูรณ์อินโฟ
  ภูเก็ตสารสนเทศ
  สมบูรณ์แก่นโน้ต

เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)

 

        เจ้าพระยามหิธร นามเดิม ลออ ไกรฤกษ์ เป็นบุตรพระยาเพชรรัตน์(โมรา) เกิดปีจอ ฉศก จ.ศ. ๑๒๓๙ เดิมทำราชการอยู่ศาลฎีกา แล้วย้ายมาอยู่กรมราชเลขานุการ ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กวิเศษในรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มารับราชการในกระทรวงยุติธรรม สอบไล่วิชากฎหมายได้เป็นเนติบัณฑิตชั้นที่ ๑ ได้เป็นผู้พิพากษาศาลพระราชอาชญา พระราชทานสัญญาบัตรเป็นหลวงจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์  แล้วเป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นพระในนามเดิม และเป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงยุติธรรม ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ถึงรัชกาลที่ ๖ เป็นกรรมการศาลฎีกา และเป็นราชเลขานุการแผนกฎีกาอีกตำแหน่ง ๑ ต่อมาย้ายไปเป็นสมุหพระนิติศาสตร์กระทรวงวัง แล้วเป็นอธิบดีศาลฎีกา แล้วเป็นราชเลขาธิการ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าพระยา มีคำประกาศดังนี้ .-

        ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาลเป็นอดีตภาค ๒๔๖๕ พรรษา ปัตยุบันกาล โสณสังวัจฉร พฤศจิกายนมาส เอกาทศมสุรทิน โสรวาร โดยกาลกำหนด

       พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ ฯลฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

        ทรงพระราชดำริว่า พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ เดิมได้เข้าศึกษาวิชาที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบจนสอบความรู้ได้จบหลักสูตรของโรงเรียนเมื่อปีพระพุทธศักราช ๒๔๓๔ แล้วได้เข้ารับราชการที่ศาลฎีกา ( ซึ่งสมัยนั้นตั้งอยู่ที่อัฏฏวิจารณศาลา ) ในปลายปีพระพุทธศักราช ๒๔๓๕ ได้ย้ายมารับราชการในกรมราชเลขานุการ  และได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กวิเศษในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

        ครั้นถึงปีพระพุทธศักราช ๒๔๔๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการในกระทรวงยุติธรรม พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์สอบความรู้กฎหมายได้เป็นเนติบัณฑิตชั้นที่ ๑ ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยาเป็นบำเหน็จ นอกจากหน้าที่ราชการในกรมบัญชาการกระทรวงยุติธรรม เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมจัดให้รับราชการเป็นผู้ช่วยอัยการว่าความด้วย

        ครั้นถึงปีพระพุทธศักราช ๒๔๔๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่หลวงจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ แลพระราชทานตราตั้งเป็นผู้พิพากษารับราชการในศาลพระราชอาชญา ปีพระพุทธศักราช ๒๔๔๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง แลพระราชทานบรรดาศักดิ์เลื่อนขึ้นเป็นพระจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ในปลายปีพระพุทธศักราช ๒๔๔๓ ให้เป็นผู้แทนปลัดทูลฉลองกระทรวงยุติธรรมอยู่ ๒ เดือน แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นปลัดทูลฉลอง ทั้งโปรดเกล้าฯให้คงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ในศาลสถิตยุติธรรมได้เหมือนผู้พิพากษาอยู่ตามเดิมเป็นพิเศษอีกด้วย ถึงปีพระพุทธศักราช ๒๔๔๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นพระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์

        ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ทรงพระราชดำริว่า หน้าที่ราชการตำแหน่งกรรมการศาลฎีกาเป็นตำแหน่งที่สำคัญ ซึ่งต้องใช้ผู้ที่มีความปรีชาสามารถชำนิชำนาญในบทกฎหมาย แลทรงไว้ซึ่งความยุติธรรมเป็นอันดี พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ สมควรรัชราชการฉลองพระเดชพระคุณในตำแหน่งนี้ได้ผู้หนึ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายจากตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงยุติธรรมเป็นกรรมการศาลฎีกา และในปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๔ โปรดเกล้าฯ ให้รับราชการในตำแหน่งราชเลขานุการแผนกฎีกาในกรมราชเลขานุการอีกตำแหน่งหนึ่ง

        ครั้นถึงปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๗ มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้ตั้งกรมพระนิติศาสตร์ขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ เป็นสมุหพระนิติศาสตร์ ได้เป็นผู้ดำริจัดวางระเบียบแบบแผนใหม่ในกรมพระนิติศาสตร์ เป็นหลักฐานสมพระราชประสงค์ ครั้นถึงปีพระพุทธศักราช ๒๔๖๑ ตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกาว่างลง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์เป็นอธิบดีศาลฎีกา  แลโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้กำกับราชการกรมพระนิติศาสตร์อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย

        ถึงปีพระพุทธศักราช ๒๔๖๒ ตำแหน่งราชเลขาธิการว่างลง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ รับราชการสนองพระเดชพระคุณในตำแหน่งราชเลขาธิการมาจนบัดนี้ นอกจากหน้าที่ราชการตามที่ได้กล่าวมาแล้ว พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ยังได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณในหน้าที่พิเศษเป็นกรรมการต่างๆอีกเป็นหลายคราว ส่วนราชการในแผนกเสือป่า พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ได้เป็นสมาชิกมาแต่แรกจนบัดนี้ ได้รับพระราชทานยศเป็นนายกองเอก ตำแหน่งปลัดพระธรรมนูญเสือป่า

        เมื่อพิจารณาถึงการที่พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ ได้รับราชการฉนองพระเดชพระคุณมาในหน้าที่ต่างๆ ทั้งในราชการแผ่นดินและราชการส่วนพระองค์ ในส่วนแผนกตุลาการล้วนแต่ที่สำคัญ ก็ได้ปฏิบัติราชการในหน้าที่อันยาก ซึ่งต้องใช้วิชาความสามารถและความคิดโดยสติปัญญาอย่างสุขุมรอบคอบประกอบด้วยความอุตสาหะวิริยภาพ มิได้ย่อหย่อน ย่อมเป็นพยานให้เห็นปรากฏชัดว่า พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ เป็นผู้มีปรีชาเฉียบแหลมรอบรู้ชำนาญในนิติศาสตร์โดยกว้างขาวงเป็นอย่างดีผู้หนึ่ง ทั้งยังเป็นผู้ที่มีกิริยาอัธยาศัยสุภาพเยือกเย็นมั่นคงดำรงอยู่ในความสุจริตเป็นอันดี และเป็นผู้ที่ทรงคุ้นเคยมาช้านาน ได้เคยรับราชการในพระองค์บางอย่างสนองพระเดชพระคุณ มาแต่ก่อนเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว จึงทรงตระหนักพระราชหฤทัยในความจงรักภักดีต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทโดยมั่นคง เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยทั้งมีความประพฤติดำรงตนอยู่ในฐานะอันควรแก่ฐานันดรศักดิ์ที่ทรงพระกรุณาชุบเกล้าฯตั้งแต่งไว้ บัดนี้ก็ได้รับราชการในตำแหน่งราชเลขาธิการอันเป็นตำแหน่งสูง สมควรจะทรงพระกรุณาดปรดเกล้าฯยกย่องให้มีเกียรติยศใหญ่ยิ่งขึ้น

        จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่ง ให้สถาปนาพระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ขึ้นเป็นเจ้าพระยา มีสมญาจารึกในหิรัญบัฏว่า เจ้าพระยามหิธร บรมนริศรมหาสวามิภักดิ์ นิติพิทักษ์ธรรมศาล ราชเลขาธิการวิสุทธิคุณ ไกรฤกษกุลวิวัฒน์ ศรีรัตนไตรย์สรณธาดา สุจริตาชวาธยาศัย อภัยพิริยบรากรมพาหุ มุสิกนาม ดำรงศักดินา ๑๐๐๐๐ จงเจริญทฤฆชนมายุ พรรณ สุข พล สิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล ธนสารสมบัติ บริวารสมบูรณ์ทุกประการ เทอญ ฯฯ

       บุตรธิดาของเจ้าพระยามหิธร คือ นายจ่ายวด (ปาณี ไกรฤกษ์) หลวงจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (วิสุทธิ์ ไกรฤกษ์) และคุณหญิง (ศรี) ไชยยศสมบัติ เป็นต้น

 

*********

 

คัดลอกจาก  :

 

เรื่องตั้งเจ้าพระยากรุงรัตนโกสินทร ฉบับมีรูป (๒๔๗๔) “เจ้าพระยามหิธร ลออ” หน้า ๑๖๑ - ๑๖๕  พระนคร : โรงพิมพ์ลหุโทษ  (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ท่านน้อย เปาโรหิตย์ ณ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อปีมะแม พ.ศ. ๒๔๗๔)     

 

หมายเหตุ  จ.ศ. ๑๒๓๙  พ.ศ. ๒๔๒๐

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน