Bookmark and Share Add to Favorites  
สมาคม
  LIN (SURNAME)
   China's Lin Clan Network
   Chaoshan Lin
   สมาคมตระกูลลิ้มแห่งประเทศไทย
  ชุมชนชาวฮากกา
หนังสือพิมพ์
  ซินหัวไทย
  China Daily
  China News
  People's Daily Online
  Xinhua
  China Youth Daily
  Bangkokpost
  มติชน
  ไทยรัฐ
  เดลินิวส์
  ผู้จัดการ
  คมชัดลึก
  กรุงเทพธุรกิจ
  บ้านเมือง
  แนวหน้า
  ไทยโพสต์
  โพสต์ทูเดย์
  สยามรัฐ
  บางกอกทูเดย์
  โลกวันนี้
  เส้นทางเศรษฐกิจ
  มติชนสุดสัปดาห์
มุมนักเสี่ยงโชค
  ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
  ตรวจสลากย้อนหลัง
  ผลสลากออมสิน
  ธกส.ออมทรัพย์ทวีสิน
แลกเปลี่ยนเงินตราและหุ้น
  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  ธนาคารไทยพาณิชย์
  ธนาคารกรุงเทพ
  ตลาดหลักทรัพย์ - หุ้น
  ตลาดหุ้น
เว็บเครือข่าย
  สมบูรณ์อินโฟ
  ภูเก็ตสารสนเทศ
  สมบูรณ์แก่นโน้ต

ตราสัญลักษณ์

       

 

        เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ ที่ผู้ที่เคารพศรัทธาในองค์เจ้าแม่มีด้วยกันหลายประเภท  ตามแต่ว่าใครจะใช้สิ่งใดแทนองค์เจ้าแม่  นอกจากตราประทับพระนามทำด้วยทองคำที่ศาลเจ้าเกาะเหมยโจวแล้ว พอจะสรุปได้ดังนี้

         ๑.  ประติมากรรม หรือองค์รูปปั้น เคลือบ หรือ แกะสลัก  :  เป็นรูปผู้หญิงจีน  อายุ  ๒๘  ปี  วัยกลางคน  ตาชั้นเดียว  สวมชุดตามอิสริยยศฐานันดรศักดิ์ ที่ทรงได้รับพระราชทานตามยุคสมัยราชวงศ์ต่างๆ  ฉลองพระองค์จึงควรที่ช่างจะต้องจัดทำให้ตรงตามยุคสมัยนั้นๆ  เป็นองค์สมเด็จพระจักรพรรดินี หรือ  ฮองเฮา  สวมพระมาลา  บนพระมาลามีแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าทอดไปด้านหน้าและหลัง  ปลายเหลี่ยมทั้งสองมีสร้อยไข่มุกเรียงห้อยลงมาตรงพระพักตร์และท้ายพระเศียร  จำนวนเส้นไข่มุกที่เรียง แล้วแต่ว่าเป็นพระรูปเล็กหรือใหญ่  โดยทั่วไปตั้งแต่เจ็ดถึงสิบสามเส้น  พระหัตถ์ทรงถือพระป้ายเข้าเฝ้าหรือไม่ได้ทรงถืออะไรเลย   บางรูปพระพักตร์สีดำไม้ที่ใช้แกะสลัก  จะใช้ไม้หอม  เดิมชาวบ้านใช้ขอนไม้ที่ลอยมาและเกาะจนรอดชีวิตจากการจมน้ำ แล้วนำไปให้ช่างแกะสลักให้แล้วนำไปถวายที่ศาลเจ้าแม่   ปัจจุบันมีการทำเป็นเครื่องเคลือบที่สวยงาม

         ๒.   จิตรกรรม  ภาพวาด ภาพพิมพ์ ภาพเขียนเกี่ยวกับองค์เจ้าแม่  ในบรรดาเทพเจ้าสตรีที่ชาวจีนให้ความเคารพนับถือมากที่สุดคือ เจ้าแม่กวนอิม รองลงมาคือ เจ้าแม่มาจู่  ดังนั้นไม่ว่ารูปปั้นเคลือบ ภาพชนิดต่างๆของเจ้าแม่มาจู่สามารถแยกออกมาจากศิลปะด้านศาสนาของจีนได้อย่างเด่นชัด  เมื่อเจ้าแม่มาจู่เป็นเทพเจ้าของทางราชการกำหนดตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน  ไม่ว่าจะเป็นภาพพิมพ์ ภาพวาด ภาพเขียน  รวมทั้งผลงานท้องถิ่นที่ได้สรรค์สร้างขึ้น ที่ปรากฏให้เห็นตามที่ต่างๆมากมาย  ในส่วนของผลงานจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับเจ้าแม่ได้ปรากฏที่ศาลเจ้าอู่ต่อเรือหลงเจียงประมาณ พ.ศ.  ๑๙๔๖  เป็นพระประวัติของพระองค์ท่าน และที่ไป๋หลู่ซื่อ  ใกล้เมืองชีเจี๋ยจาง มณฑลเหอเป่ย  ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙  เป็นภาพส่วนหนึ่งเกี่ยวกับพิธีกรรมเรื่องน้ำและดิน  ส่วนภาพเขียนปรากฏประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๔ ภาพเขียนเหล่านี้จะจัดเป็นชุดๆละ ๒๔ หรือ ๔๘ ภาพ  โดยเน้นเรื่องราวเกี่ยวกับการช่วยเหลือกองเรือของทางราชการ เช่นกองเรือของราชทูต  จิตรกรรมท้องถิ่นที่ฝูเจี้ยนได้แสดงให้เห็นถึงภาพลักษณ์ของเจ้าแม่ที่แตกต่างจากของทางราชการ

        ๓.   สัญลักษณ์ทั่วๆไป  :     มังกร  เมฆ  ท้องฟ้า  สายน้ำ  รุ้ง  ยอดภูเขา  งูทะเล  เรือใบ  ตัวเลข ๙ และตัวเลข  ๓๙  พระมาลา   หินรูปบันไดสวรรค์  ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว  ดาบและอาวุธโบราณ

  ๔.  สัตว์ มังกรฟ้า  เสือโคร่ง  งูใหญ่  หมู  กวาง

 ๕.  ต้นพืช :  ต้นพีช  ต้นหลิว  ไม้ไผ่  ดอกบัว  ต้นดอกโบตั๋น  ต้นและ ผลทับทิม  พืชสมุนไพร

  ๖.  น้ำหอม  โลหิตมังกร  ธูป

 ๗.  เพชรพลอย โลหะ  ไข่มุก  ทองบรอนซ์  หยกเขียว  หินปูน

 ๘.  สี   :    สีส้ม  สีดำ  สีแดง และ สีน้ำเงิน

          ตราสัญลักษณ์เหล่านี้  ย่อมเป็นที่ต้องการของบุคคลที่เคารพนับถือองค์เจ้าแม่  ต่างเสาะหากันมาเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว

 ๙.  เหรียญ เป็นเหรียญทองคำและเหรียญเงินที่ทางรัฐบาลจีนได้จัดทำขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบปี เป็นเหรียญเงินหยวนราคา ๕ หยวน ขนาดน้ำหนัก ๑/๒ ออนซ์ จำนวนที่ผลิต ๘,๐๐๐ อัน  และเหรียญทองคำ เป็นเงินหยวนราคา ๒๕ หยวน ขนาดน้ำหนัก ๑/๔ ออนซ์  จำนวน  ๓๐๐๐ อัน ออกจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘

 ๑๐.  แสตมป์  ขนาด ๓๐ x ๔๐ มม. พิมพ์ออฟเซ็ต ราคา ๒๐ เฟิง ออกจำหน่าย ๔ ตุลาคม ๒๕๓๕

 

 

 

 

                :    สมบูรณ์ แก่นตะเคียน    ๑๒ เมษายน ๒๕๕๑

 

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน