Bookmark and Share Add to Favorites  
สมาคม
  LIN (SURNAME)
   China's Lin Clan Network
   Chaoshan Lin
   สมาคมตระกูลลิ้มแห่งประเทศไทย
  ชุมชนชาวฮากกา
หนังสือพิมพ์
  ซินหัวไทย
  China Daily
  China News
  People's Daily Online
  Xinhua
  China Youth Daily
  Bangkokpost
  มติชน
  ไทยรัฐ
  เดลินิวส์
  ผู้จัดการ
  คมชัดลึก
  กรุงเทพธุรกิจ
  บ้านเมือง
  แนวหน้า
  ไทยโพสต์
  โพสต์ทูเดย์
  สยามรัฐ
  บางกอกทูเดย์
  โลกวันนี้
  เส้นทางเศรษฐกิจ
  มติชนสุดสัปดาห์
มุมนักเสี่ยงโชค
  ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
  ตรวจสลากย้อนหลัง
  ผลสลากออมสิน
  ธกส.ออมทรัพย์ทวีสิน
แลกเปลี่ยนเงินตราและหุ้น
  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  ธนาคารไทยพาณิชย์
  ธนาคารกรุงเทพ
  ตลาดหลักทรัพย์ - หุ้น
  ตลาดหุ้น
เว็บเครือข่าย
  สมบูรณ์อินโฟ
  ภูเก็ตสารสนเทศ
  สมบูรณ์แก่นโน้ต

ฮ่องเต้หลินฉู่ตี้ 林楚帝

 

ความนำ      

        เอี๋ยงเจียนเป็นขุนนางผู้ใหญ่ในสมัยราชวงศ์เป่ยโจว  ต่อมาได้ตั้งตนเป็นฮ่องเต้เหวินตี้ ปฐมราชวงศ์สุย เมื่อ พ.ศ.  ๑๑๒๔  ได้ทรงวางรากฐานการเมืองการปกครองไว้เป็นอย่างดี   แต่ครอบครัวของพระองค์กลับวุ่นวายเพื่อแย่งกันเป็นฮ่องเต้  องค์ชายเอี๋ยงกว่างทรงทำปิตุฆาตแล้วขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า ฮ่องเต้สุยเอี๋ยงตี้  ระหว่าง พ.ศ.  ๑๑๔๗ – ๑๑๖๐  ทรงมีความสามารถในการปกครองบ้านเมืองแต่ก็ทรงฟุ่มเฟือย  โปรดฯให้ขุดคลองต้ายุ่นเหอ มีความยาว ๒,๕๐๐  กิโลเมตร กว้าง ๔๐ เมตร จากเหนือลงไปทางใต้ คือ จากเมืองปักกิ่งถึงเมืองหางโจว  ตลอดระยะทางสร้างวัง ๔๐ แห่ง  ต้องใช้คนกว่าสามล้านห้าแสนคน  แล้วเสด็จทรงเรือมังกรขนาดใหญ่ใช้คนลากจูงสองฝั่งคลองเป็นหมื่นคน  โปรดฯให้ยกทัพเรือไปตีกุเรียวหรือเกาหลีซึ่งต้องใช้รี้พลหนึ่งล้านหนึ่งแสนสามหมื่นคน  ผลสงครามพ่ายแพ้ยับเยินเหลือทหารกลับมาเพียงสองพันเจ็ดร้อยคน  แล้วยังโปรดฯให้เกณฑ์แรงงานราษฎรเป็นจำนวนมากให้ไปสร้างกำแพงทางด้านเหนือขึ้นมาใหม่

         การเกณฑ์แรงงานครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างมากมายไม่จบสิ้นตามด้วยพวกขุนนางกังฉินตามหัวเมืองข่มเหงรังแก พวกชาวนาจึงลุกฮือขึ้นจับอาวุธทั่วประเทศ  ฆ่าพวกขุนนางกังฉิน  แล้วหาผู้นำตั้งตนเป็นใหญ่ประกาศเป็นรัฐอิสระไม่ขึ้นกับฮ่องเต้เมืองหลวงอีกต่อไป ซึ่งมีถึง  ๖๔ หัวเมือง  ตั้งแต่ พ.ศ.  ๑๑๕๔ เป็นต้นมา  รัฐอิสระเหล่านี้ที่เป็นอาณาจักรใหญ่มี  ๒๐  แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ  หลายอาณาจักรมีพลทหารหลายหมื่นบางแห่งเป็นแสนคน   แล้วตั้งตนเป็น อ๋อง  หลายแห่งต่อมายกตนเป็นฮ่องเต้เทียบเท่าเมืองหลวง

อาณาจักรเหล่านั้นได้แก่

        ตู้ฝู่เว่ย หรือ หลี่ฝู่เว่ย 李伏威 เป็นนักรบชาวนา ทำการเคลื่อนไหวแถบมณฑลอานฮุย บริเวณแม่น้ำแยงซี ต่อมายอมจำนนราชวงศ์ถังได้เป็น อู่หวาง

        เกาไคเต้า 高開道 หรือ หลี่ไคเต้า 李開道 เป็นนักรบชาวนา ทำการเคลื่อนไหวแถบมณฑลเหอเป่ย ตั้งตนเป็น เอียนหวาง燕王ระหว่างพ.ศ. ๑๑๖๑ – ๑๑๖๗

        เหลียงซือตู 梁師都 เป็นนักรบชาวนา ทำการเคลื่อนไหวแถบมองโกเลียใน ประกาศเป็นฮ่องเต้เหลียงตี้ 梁帝 ใช้ปีรัชกาลว่า หย่งตี้ สิ้นพระชนม์ปีพ.ศ. ๑๑๗๑

        หลี่กุ่ย 李軌  หรือหลี่ฉู่เจ๋อ อดีตเป็นขุนนางราชวงศ์สุย ทำการเคลื่อนไหวแถบมณฑลกานซู่ แล้วสถาปนาเป็นหลี่เหลียงหวาง แล้วเป็นฮ่องเต้หลี่เหลียงตี้ใช้ปีรัชกาลว่า อันเล่อ ระหว่างพ.ศ. ๑๑๖๑ – ๑๑๖๒

        หลี่เอียน 李淵 อดีตเป็นขุนนางราชวงศ์สุยเป็นหลานฮ่องเต้สุยเอี๋ยงตี้ ทำการเคลื่อนไหวแถบซานซี ต่อมาเป็นปฐมวงศ์ราชวงศ์ถัง คือ ฮ่องเต้ถังเกาจู่ 唐高祖

        หลินซื่อหง 林士弘 เป็นนักรบชาวนา ทำการเคลื่อนไหวแถบมณฑลเจียงซี กว่างตงและเกาะไหหลำ ประกาศตนเป็นฮ่องเต้ฉู่ตี้楚帝 พ.ศ. ๑๑๖๐ – ๑๑๖๕

        หลิวอู่โจว 劉武周 เป็นนักรบชาวนา ทำการเคลื่อนไหวแถบซานซี ประกาศตนเป็นเตี้ยเหยาเค่อก๊าน 定楊可汗 หรือ เตี้ยเหยาเทียนจื่อ定楊天子 ใช้ปีรัชกาลว่า เทียนซิง ระหว่างพ.ศ. ๑๑๖๐ – ๑๑๖๕

        หลัวอี้ 羅藝 หรือ หลี่อี้ 李藝 อดีตเป็นขุนนางราชวงศ์สุย ทำการเคลื่อนไหวแถบเมืองเป่ยจิง ถึงแก่อนิจกรรมพ.ศ. ๑๑๗๐

        เฉี้ยวสี่ 蕭銑 อดีตขุนนางราชวงศ์สุย ทำการเคลื่อนไหวแถบมณฑลหูเป่ย หูหนาน กว่างซี ประกาศเป็น ฮ่องเต้เฉี้ยวเหลียงตี้

梁帝 และใช้ปีรัชกาลว่า เฟิ่งหมิง ระหว่างพ.ศ. ๑๑๖๐ – ๑๑๖๔

        เชะจี๋ 薛舉  เป็นนักรบชาวนา ทำการเคลื่อนไหวแถบมณฑลกานซู่และส่านซีตะวันตก ประกาศเป็น ซีฉินหวาง แล้วเป็นฮ่องเต้ฉินอู่ตี้ 秦武帝 ใช้ปีรัชกาลว่า ฉินซิง ระหว่างพ.ศ. ๑๑๖๐ – ๑๑๖๑ โอรสคือ เชะเหยินก่าว 薛仁杲 ขึ้นครองราชย์ต่อทรงพระนามว่าฮ่องเต้ ฉินตี้ 秦帝 และสิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ. ๑๑๖๑

        จูค่าน 朱粲  อดีตเป็นนักรบชาวนา ทำการเคลื่อนไหวบริเวณมณฑลเหอหนานใต้ และมณฑลส่านซีตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศเป็นเจี๋ยโหลวหลัวหวาง  迦樓羅王 แล้วเป็นฮ่องเต้จูฉู่ตี้ ใช้ปีรัชกาลว่า ชางต้า ระหว่างพ.ศ. ๑๑๖๑ – ๑๑๖๒

        หวางซื่อชง 王世充 เดิมแซ่จื่อต่อมาเปลี่ยนเป็นแซ่หวาง ทำการเคลื่อนไหวบริเวณมณฑลเหอหนานเมืองไคฟง ประกาศเป็นฮ่องเต้เจิ้งตี้ 鄭帝  ใช้ปีรัชกาลว่า ไคหมิง ระหว่างพ.ศ. ๑๑๖๑ – ๑๑๖๔

        หลี่มี่หรือหลีมิด 李密 ทำการเคลื่อนไหวระหว่างพ.ศ. ๑๑๖๐ – ๑๑๖๑ เป็นเว่ยกง 魏公

        โต้วเจี้ยนเต๋อ 竇建德 ทำการเคลื่อนไหวระหว่าง พ.ศ. ๑๑๖๐ – ๑๑๖๔ เป็นเซี่ยหวาง 夏王

        ฝู่กงสือ 輔公祏 ทำการเคลื่อนไหวแถบมณฑลเจียงซู เมืองนานกิง ระหว่างพ.ศ. ๑๑๖๖ – ๑๑๖๗ เป็นฮ่องเต้ซ่งตี้ 宋帝 แต่ถูกปลงพระชนม์โดยหลี่เซียวกงแห่งราชวงศ์ถัง

        หลี่จื่อทง 李子通 ทำการเคลื่อนไหวแถบเอี๋ยงโจว มณฑลเจียงซู เป็นฮ่องเต้อู่ตี้ 吳帝 ระหว่างพ.ศ. ๑๑๖๓ – ๑๑๖๕

        หลิวเฮยต้า 劉黑闥 เป็นนักรบชาวนา ทำการบริเวณเหนือแม่น้ำหวงเหอ ประกาศเป็น ฮั่นตงหวาง 漢東王 ใช้ปีรัชกาลว่า เทียนจ้าว ระหว่างพ.ศ. ๑๑๖๔ – ๑๑๖๖

        เสิ่นฝ่าซิง 沈法興 ทำการบริเวณมณฑลเจ้อเจียงและเจียงซู ประกาศเป็น เหลียงหวาง 梁王 ระหว่างพ.ศ. ๑๑๖๑ – ๑๑๖๓ ถูกฮ่องเต้หลี่อู่ตี้ปราบจนสิ้นพระชนม์

        สูหยวนหล่าง 徐圓朗 เป็นนักรบชาวนา ทำการบริเวณมณฑลซานตง ประกาศเป็น ลู่หวาง 魯王 ระหว่างพ.ศ. ๑๑๖๐ – ๑๑๖๖

        อวี่เหวินฮั่วจี๋  宇文化及 เป็นนายพลทหารแห่งราชวงศ์สุย ประกาศเป็นฮ่องเต้ชิตี้   許帝 แห่งอาณาจักรชิ ใช้ปีรัชกาลเทียนโซ่วระหว่างพ.ศ. ๑๑๖๑ - ๑๑๖๒ ต่อมาถูกโต้วเจี้ยนเต๋อปลงพระชนม์

        บรรดาท่านอ๋องและฮ่องเต้เหล่านี้ ต่างต้องพึ่งบุญและวาสนาของแต่ละพระองค์ ว่าจะมีบุญบารมีได้ครองราชสมบัติกี่ปี หากดูช่วงปีที่ครองราชย์จะเห็นชัดเจน ดังนั้น ท่านอ๋องหรือฮ่องเต้แต่ละพระองค์จะต้องพร้อมด้วยคุณสมบัติที่จะเป็นกษัตริย์ที่ดี มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เพียบพร้อมด้วยขุนพลนายทหารกล้าจำนวนมาก เพียบพร้อมด้วยนักปราชญ์ให้คำแนะนำในการปกครองบ้านเมือง มีอู่ข่าวอู่น้ำบริบูรณ์ มีเมืองหลวงที่ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่ดีข้าศึกเข้าตียาก มีญาติพี่น้องที่เห็นแก่บ้านเมืองไม่ชิงกันเป็นใหญ่ พระองค์จะต้องเลี้ยงขุนนางนายทหารเป็นอย่างดี ไม่ทรงหลงระเริงไปกับสุรานารี ไม่ทรงฟังขุนนางกราบทูลทัดทาน เป็นต้น

 

พระราชประวัติฮ่องเต้หลินฉู่ตี้

 

        หลินซื่อหง 林士弘  ทราบเพียงว่าท่านเป็นชาวเมืองเหยาโจว มณฑลเจียงซี เมืองนี้ปัจจุบันคือเมืองซั่งเหยา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลเจียงซี ได้เข้าร่วมอุดมการณ์ต่อต้านราชวงศ์สุยกับ จ๋าวซื่อฉี 操師乞 ที่เมืองเหยาโจว ซึ่งเป็นหัวหน้านักรบชาวนากลุ่มเหยาโจว เมื่อ พ.ศ. ๑๑๕๙ พร้อมกับน้องชายคือ หลินเย่าซือ 林藥師

        หลินซื่อหง นามของเขาคือ ซื่อหง士弘  แซ่หลิน ( หลิม )  คำว่า ซื่อ หมายถึง สุภาพบุรุษ อัศวิน นักรบ ทหาร นักการศึกษา  ส่วนคำว่า หง หมายถึง ยิ่งใหญ่ อิสระ ดังนั้น ซื่อหง จึงหมายถึง นักรบผู้ยิ่งใหญ่ สุภาพบุรุษใจกว้าง ปราชญ์อิสระ ซึ่งน่าจะเป็น นามฉายาหรือนามแบบฉบับเฉพาะตัวของเขาที่ได้สืบทอดมาจากบรรพชน ส่วนชื่อจริงไม่ปรากฏ ถ้าหากพิจารณาจากการปฏิบัติภารกิจตั้งแต่ต้นจนสิ้นพระชนม์ จะเห็นว่า หลินซื่อหงน่าจะมีพื้นความรู้อย่างไรบ้าง ส่วนน้องชายชื่อ เย่าซือ คำว่า เย่า หมายถึง การเยียวยารักษา เภสัช ยา ส่วนคำว่า ซือ หมายถึง ครู ผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้น คำว่า เย่าซือ น่าจะหมายถึง เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ หรือเป็นผู้ที่สืบทอดการรักษาทางการแพทย์ ดังนั้นสองพี่น้องสกุลแซ่หลิน น่าจะมาจากครอบครัวที่เป็นนักการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ประจำเมืองเหยาโจว นอกจากมีความรู้ทางการแพทย์แล้ว ทั้งสองพี่น้องยังได้เรียนการฝึกวิทยายุทธและตำราพิชัยสงครามจนเชี่ยวชาญ หลินซื่อหงมีง้าวและเกาทัณฑ์เป็นอาวุธประจำกาย ส่วนหลินเย่าซือมีขวานและกระบี่เป็นอาวุธประจำกาย  ด้วยบุคลิกภาพที่มีลักษณะเป็นผู้นำ จิตใจโอบอ้อมอารี จึงมีผู้คนให้ความเคารพเชื่อถือในฝีมือ หลินซื่อหงจึงมีสมัครพรรคพวกเป็นจำนวนมาก

        เมื่อเห็นว่าเหตุการณ์บ้านเมืองไม่ปกติสุข พวกขุนนางท้องถิ่นรีดนาทาเร้นทำให้ราษฎรเดือดร้อนกันทั่ว เมื่อได้รับคำเชิญจากจ๋าวซื่อฉี ให้เข้าร่วมทำการ เขาจึงตอบตกลง แล้วนำสมัครพรรคพวกไปสมทบกับจ๋าวซื่อฉี ซึ่งทำให้กองทัพของจ๋าวมีพลทหารกว่าแสนคน ในปีเดียวกันนี้ จ๋าวซื่อฉีได้สถาปนาตนเองเป็นอ๋อง เป็น หยวนซิงหวาง  หลินซื่อหงได้รับแต่งตั้งเป็นนายพลเอกพร้อมน้องชาย ทำการฝึกปรือทหารอย่างเข้มแข็ง โดยมีทั้งกองทัพบกและกองทัพเรือ

        ในปลายปีพ.ศ. ๑๑๕๙ ฮ่องเต้สุยเอี๋ยงตี้รับสั่งให้นายพลหลิวจื่ออี้ 劉子翊 ยกทัพไปปราบก๊กนี้ หยวนซิงหวางจึงจัดกระบวนทัพโดยพระองค์ทรงเป็นแม่ทัพ ให้นายพลหลินซื่อหงเป็นรองแม่ทัพ กองทัพทั้งสองได้เปิดฉากการรบที่ริมฝั่งทะเลสาบปั๋วเอี๋ยง ได้สู้รบกันเป็นสามารถ ทั้งสองกองทัพเสียรี้พลไปเป็นจำนวนมาก  หยวนซิงหวางถูกลูกเกาทัณฑ์ข้าศึก จนต้องถอยทัพและสิ้นพระชนม์ในเวลาต่อมา นายพลหลินซื่อหงจึงเป็นผู้บัญชาการทัพแทน จึงยกทัพเข้าโจมตีข้าศึกอีกครั้ง จนสามารถฆ่านายพลหลิวจื่ออี้ตายในสนามรบ กองทัพข้าศึกจึงแตกพ่ายกระจายไป หลินซื่อหงจึงเป็นหัวหน้าป้อมค่ายเหยาโจว

        หลินซื่อหงจึงรวบรวมทหารได้กว่าแสนนาย ในช่วงปีใหม่ พ.ศ. ๑๑๖๐ หลินซื่อหงจึงได้สถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ ฉู่ตี้ 楚帝 แห่งอาณาจักรฉู่ ใช้ปีรัชกาลว่า ไท่ผิง 太平 โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองอิ้วจางหรือหนานฉางโจว 南昌州 หรือเมืองจิ่วเจียงในปัจจุบัน แล้วสถาปนาน้องชายคือ หลินเย่าซือ พระอนุชาเป็น โปหยางอ๋อง หรือ ปั๋วเอี๋ยงหวาง 鄱阳 แล้วทำการขยายอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่มณฑลเจียงซี มณฑลกว่างตง และเกาะไหหลำ พร้อมทรงแต่งตั้งขุนนางทั้งฝ่ายบุ๋นฝ่ายบู๊ครบทุกตำแหน่ง ในระดับอาณาจักรที่ปกครองโดยฮ่องเต้

        ในช่วงปีใหม่พ.ศ. ๑๑๖๑ จางซานอัน 張善安 ผู้นำกลุ่มเมืองฝางอี้หรือซูโจว มณฑลเจียงซู ได้ยกทัพข้ามแม่น้ำแยงซีตอนใต้เข้ามา โดยอ้างว่าต้องการรวมพลกับกองทัพของอาณาจักรฉู่  ฮ่องเต้หลินทรงพิจารณาอย่างรอบคอบ พร้อมทั้งปรึกษาขุนนางทั้งหลายแล้วลงความเห็นว่า ไม่น่าไว้วางใจจางซานอันให้เคลื่อนทัพเข้าเมือง ขอให้ตั้งกองทัพอยู่นอกกำแพงเมืองหลวง ทำให้จางซานอันไม่พอใจเป็นอันมาก จึงสั่งกองทัพของตนเข้าล้อมเมืองอิ้วจางไว้ แล้วท้ารบ กองทัพทั้งสองได้สู้รบกันระยะหนึ่ง ฮ่องเต้หลินทรงเห็นว่าเมืองอิ้วจางเป็นเมืองอุดมสมบูรณ์ ถึงข้าศึกมาล้อมเมืองเป็นปีก็ไม่เดือดร้อน ขอให้ทหารรักษาประตูเมืองค่ายคูหอรบให้มั่นคงก็พอ

        ฝ่ายจางซานอันเมื่อเห็นว่าเมืองอิ้วจางไม่ออกมารบ แต่กลับตั้งมั่นในเมืองหลวง ก็ร้อนใจต้องการเผด็จศึกยึดเอาเมืองอิ้วจางให้ได้ จึงปรึกษากุนซือทหาร เมื่อตรวจดูแล้วเห็นช่องทางที่จะเอาชนะเมืองอิ้วจางได้ ด้วยมุมกำแพงเมืองมีจุดอ่อน จึงวางแผนเผากำแพงเมือง เพื่อบังคับให้ฮ่องเต้หลิน ไปอยู่เมืองหนานคางหรือเมืองก้านโจวในปัจจุบัน แต่การยังไม่เสร็จ ฝ่ายเซียวสี่หรือฮ่องเต้เฉี้ยวเหลียงตี้ได้ส่งนายพลซุอู๋หนิ๋ 蘇胡兒 ยกกองทัพเข้าประชิดเมืองอิ้วจางและเข้ายึดเมืองได้ ฮ่องเต้หลินจึงหนีไปยังเมืองอิ้วก้าน หรือเมืองซั่งเหยาในปัจจุบันและตั้งหลักอยู่ที่นั่น

        ในปีพ.ศ. ๑๑๖๑ นายพลเฝิงอั้ง 馮盎 รับราชการอยู่ในราชวงศ์สุย ซึ่งบรรพบุรุษของเขาได้เป็นข้าหลวงปกครองมณฑลกว่างตงและเกาะไหหลำมาหลายชั่วคน ได้ยอมยกเมืองดังกล่าวอยู่ในอาณาจักรฉู่ ในขณะเดียวกัน ฮ่องเต้หลินได้พยายามติดต่อนายพลฉิ้วเห๋อะ ผู้ปกครองส่วนที่เป็นเวียดนามเหนือในปัจจุบันให้เข้าร่วมด้วย แต่นายพลปฏิเสธ ภายหลังจากทราบว่าฮ่องเต้สุยเอี๋ยงตี้เสด็จสวรรคตแล้ว นายพลจึงเอาเมืองไปขึ้นกับฮ่องเต้เฉี้ยวเหลียงตี้

        ในปีพ.ศ. ๑๑๖๓ เกิดกบฏขึ้นที่เมืองกว่างโจวและซินโจวหรือเมืองหยินฝูซึ่งอยู่ทางภาคตะวันตกของกว่างตง โดยมีเกาฝาเฉิง 高法澄 กับเฉินเป๋าเช่อ 沈寶徹 เป็นหัวหน้า ฮ่องเต้หลินจึงรับสั่งให้นายพลเฝิงอั้งยกทัพไปปราบปราม จนได้รับชัยชนะ แต่ปรากฏว่านายพลเฝิงตีตัวออกห่างกลับตั้งตนเป็นเจ้าเสียเอง

        ในปีพ.ศ. ๑๑๖๔ นายพลหลี่เซียวกง 李孝恭 หรือเหอเจียนหยวนหวาง 河間元王 แห่งราชวงศ์ถัง ได้ยกกองทัพเข้าโจมตีอาณาจักรเหลียงของฮ่องเต้เฉี้ยวเหลียงตี้ ได้หัวเมืองส่วนหนึ่งรวมทั้งผู้คนด้วย แต่ผู้คนอีกส่วนหนึ่งได้หนีไปรวมกับกองทัพของฮ่องเต้หลิน ทำให้กองทัพแข็งแกร่งขึ้น

        ในปีพ.ศ. ๑๑๖๕ ช่วงฤดูใบไม้ร่วง นายพลเฝิงอั้งไปสวามิภักดิ์กับกองทัพราชวงศ์ถังทำให้กำลังกองทัพของฮ่องเต้หลินอ่อนกำลังลง ในปลายปีนี้เอง ฮ่องเต้หลินรับสั่งให้ปั๋วเอี๋ยงหวางพระอนุชา ยกทัพไปตีเมืองซินโจวซึ่งเป็นของราชวงศ์ถัง กองทัพทั้งสองได้สู้รบกันเป็นสามารถ แต่ปั๋วเอี๋ยงหวางไม่สามารถจะยึดเมืองได้ จนกองทัพล้า การสู้รบครั้งสุดท้าย ปั๋วเอี๋ยงหวางสิ้นพระชนม์ในสนามรบ

        ฝ่ายเมืองหนานฉางซึ่งมีนายพลหวางหยง  王戎 เป็นแม่ทัพและเป็นผู้รักษาเมือง ได้ต่อสู้กับข้าศึกจนแพ้สงคราม ข้าศึกเข้าเมืองได้กองทัพของหลินจึงจำต้องเสียทั้งเมืองและขุนพลนายทหารที่แกร่งกล้าไปอีกคน

        ในช่วงฤดูหนาวของปีพ.ศ. ๑๑๖๕ ฮ่องเต้หลินไม่มีทางเลือกจึงยอมจำนนต่อราชวงศ์ถัง แต่ภายหลังรู้สึกเสียดายจึงฮึดสู้อีกครั้ง ด้วยการทิ้งเมืองเย่ก้านหรือซั่งเหยา ไปตั้งหลักอยู่ที่เมืองอันเฉิงหรือเมืองจี้อาน 吉安 มณฑลเจียงซีในปัจจุบัน ด้วยการตั้งค่ายอยู่ในถ้ำบนเทือกเขา ซึ่งมีราษฎรจำนวนมากให้ความร่วมมือและเข้าด้วย ฝ่ายราชวงศ์ถังได้ส่งกองทัพโดยมีนายพลเหยือก้านเจ๋อ 若干則 เป็นแม่ทัพ เข้าโจมตีที่มั่นของฮ่องเต้หลิน แต่ไม่สามารถจับพระองค์ได้ พลพรรคจึงแตกกระจัดกระจาย อาณาจักรฉู่ก็ล่มสลาย ฮ่องเต้หลินฉู่ตี้เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๑๑๖๕ อาณาจักรต่างๆถูกปราบปรามโดยกองทัพราชวงศ์ถังจนหมดสิ้น แผ่นดินจีนจึงรวมเป็นหนึ่งอีกครั้งหนึ่ง

        ฝ่ายโอรสและเชื้อพระวงศ์ของฮ่องเต้หลินฉู่ตี้ พากันหลบหนีราชภัยจากราชวงศ์ถัง จากจดหมายเหตุปูมตระกูลแซ่หลินกล่าวว่า เชื้อพระวงศ์ทั้งหมดได้เปลี่ยนจากแซ่หลินเป็นแซ่ไฉหรือแซ่ฉั่ว สืบมาหลายรุ่นจนถึงสมัย ๕ ราชวงศ์ กัวเว่ย 郭威 นายพลทหารได้ครองราชสมบัติเป็นฮ่องเต้ไท่จู่ 太祖 ทรงตั้งนางไฉซื่อฮูหยินภรรยาเดิมเป็น ไฉฮองเฮา พระองค์ทรงเป็นหมัน จึงขอไฉหยง 柴榮 บุตรของไฉซิวหลี่พี่ภรรยามาเป็นบุตรบุญธรรมและทรงตั้งเป็นองค์รัชทายาท เป็นไฉจิ้นหวาง ทรงครองราชย์ได้สามปีเสด็จสวรรคต ไฉจิ้นหวางขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้โจวซื่อจง 世宗  ระหว่างพ.ศ. ๑๔๙๗ - ๑๕๐๒ ใช้ปีรัชกาลว่า เสี่ยนเต๋อ 顯德  และฮ่องเต้โจวกงตี้ 恭帝(ไฉจงซุ่น 柴宗訓)ครองราชย์ระหว่างพ.ศ. ๑๕๐๒ - ๑๕๐๓ แซ่ไฉสายนี้สืบมาจากฮ่องเต้หลินซื่อหง

            หลินซื่อหงจึงเป็นบรรพชนแซ่หลิมอีกท่านหนึ่ง ที่มีความกล้าหาญต่อสู้กับพวกขุนนางกังฉินทั้งหลาย ที่เอาเปรียบข่มเหงราษฎรผู้ยากไร้โดยเฉพาะชาวนา ท่านได้ฝากชื่อไว้ในตระกูลแซ่หลิม  เพื่อลูกหลานแซ่หลิมจะได้เคารพสักการะเซ่นไหว้ระลึกถึงคุณความดีของท่านสืบไป

          พระนามที่เรียกขานกัน คือ ฮ่องเต้หลินฉู่ตี้, หลินซื่อหง, ฉู่ตี้หลินซื่อหง, ฉู่หวงตี้หลินซื่อหง หลินซื่อหงเฉิงตี้ 楚皇帝林士弘, 林士弘称帝, Linshihongchengdi, Chuhuangdi Linshihong, 称帝七年的林士弘, chengdiqiniandi Linshihong

 

            :   สมบูรณ์ แก่นตะเคียน       กันยายน   ๒๕๕๐

 

Title      :   Emperor Lin Chu Di  楚帝 ( Lin Shi Hong )

 

            :   Somboon Kantakian

 

Revised & Enlarged :    October, 11, 2008

                               :    November 8, 2008.   

 

 

 *****

 

 

 

 

 

 

*****

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน