Bookmark and Share Add to Favorites  
สมาคม
  LIN (SURNAME)
   China's Lin Clan Network
   Chaoshan Lin
   สมาคมตระกูลลิ้มแห่งประเทศไทย
  ชุมชนชาวฮากกา
หนังสือพิมพ์
  ซินหัวไทย
  China Daily
  China News
  People's Daily Online
  Xinhua
  China Youth Daily
  Bangkokpost
  มติชน
  ไทยรัฐ
  เดลินิวส์
  ผู้จัดการ
  คมชัดลึก
  กรุงเทพธุรกิจ
  บ้านเมือง
  แนวหน้า
  ไทยโพสต์
  โพสต์ทูเดย์
  สยามรัฐ
  บางกอกทูเดย์
  โลกวันนี้
  เส้นทางเศรษฐกิจ
  มติชนสุดสัปดาห์
มุมนักเสี่ยงโชค
  ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
  ตรวจสลากย้อนหลัง
  ผลสลากออมสิน
  ธกส.ออมทรัพย์ทวีสิน
แลกเปลี่ยนเงินตราและหุ้น
  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  ธนาคารไทยพาณิชย์
  ธนาคารกรุงเทพ
  ตลาดหลักทรัพย์ - หุ้น
  ตลาดหุ้น
เว็บเครือข่าย
  สมบูรณ์อินโฟ
  ภูเก็ตสารสนเทศ
  สมบูรณ์แก่นโน้ต

พระเจ้าหวงตี้ 黄帝

 

 

        พระเจ้าหวงตี้หรือสมเด็จพระจักรพรรดิเหลือง (黄帝- Huang Di - Yellow Emperor ) ทรงมีพระชนมายุอยู่ระหว่างก่อน พ.ศ. ๒๑๕๔ ถึงก่อน พ.ศ. ๒๐๕๔ รวมพระชนมายุ ๑๐๐ ปี บางตำนานว่า ๑๑๘ ปี ชาวจีนนับถือว่าพระองค์ทรงเป็นบรรพบุรุษของพวกเขานอกจากพระเจ้าเอียนตี้ และถือว่าพวกเขาเป็นลูกหลานของพระเจ้าหวงตี้ นอกจากนี้ยังถือว่าพระองค์ทรงเป็นผู้เริ่มต้นแห่งอารยธรรมของชาวจีน ที่ได้มีพัฒนาการตลอดมากว่าสี่พันหรือห้าพันปีมาแล้ว

 

 

         พระเจ้าหวงตี้เดิมเป็นสามัญชนคนใน เผ่าเซี่ย ( Xia ) ซึ่งแปลว่ามหาอารยประเทศ ชนเผ่านี้แต่เดิมอาศัยอยู่ทางภาคตะวันตกของจีนปัจจุบัน ต่อมาได้อพยพลงมาทางทิศใต้ตอนกลางและตั้งมั่นอยู่ ณ ที่นั้นคือที่ราบภาคกลางของจีน บริเวณลุ่มแม่น้ำหวงเหอ

 

 

        ก่อนที่จะได้รับการเลือกให้เป็นหัวหน้าชนเผ่า พระองค์ทรงเป็นสามัญชนดังกล่าวแล้ว พระบิดาคือ เส้าเตียน ( อิวหิว ) พระมารดาคือ พระนางจูป่าว (เจียวซื่อ) แซ่เดิมของพระองค์คือ แซ่ซุน ( กงซุน ) ท่านเส้าเตียน เป็นบุตรของหลานตี่ลี่ ท่านตี่ลี่เป็นเชื้อพระวงศ์พระเจ้าเสินหนงซื่อ หรือเอียนตี้ ก่อนที่จะถือกำเนิดนั้น พระนางจูป่าวได้ไปเที่ยวแถบภูเขาซื้อเอีย นางเห็นสายรุ้งเข้าพันดาวจระเข้ หลังจากนั้นนางตั้งครรภ์ คลอดบุตรชายที่เนินเขาตำบลโซยซุย จึงให้ชื่อบุตรชายว่า โชยซุย ช่วงที่โชยซุยยังอยู่ในวัยเยาว์ ได้ฉายแววเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาดเป็นเด็กอัจฉริยะ เมื่อเติบโตเป็นหนุ่มได้ศึกษาหาความรู้ทั้งฝ่ายบู๊และฝ่ายบุ๋นจนแตกฉาน และเข้ารับราชการกับพระเจ้าซุ่ยเหยินซื่อ นอกจากนี้พระนามของพระองค์มาจากแหล่งที่ทรงพำนักคือ พระองค์ทรงเจริญวัยที่บริเวณแม่น้ำจี ต่อมาจึงทรงเปลี่ยนเป็นแซ่จี ( Ji ) และด้วยเหตุที่พระองค์ทรงอาศัยอยู่ในชุมชนเซวียนเอวียน ( Xuan Yuan ) คนจึงเรียกขานพระองค์ว่า เซวียนเอวียน ( ปัจจุบันคือเมืองซินเจิ้ง มณฑลเหอหนาน ) เซวียนเอวียนถือกำเนิดมาตอนที่ชนเผ่าต่างๆกำลังแย่งกันเป็นใหญ่ ซึ่งแต่ละชนเผ่าจะมีภาษาและประเพณีเป็นของตนเอง

 

 

   สิ่งที่เป็นคุณูปการที่พระองค์ทรงทำไว้ให้ชาวจีนเป็นอเนกอนันต์หลายประการ ซึ่งผลงานหรือราชกิจเหล่านั้นบางส่วนพระองค์มิได้ทรงทำเองก็ตาม แต่ก็ได้บันทึกนามของผู้ที่กระทำไว้ด้วย ผลงานในสมัยของพระองค์สรุปได้ดังนี้

 

 

*โปรดฯให้ปรับปรุงกองทัพให้มีแสนยานุภาพด้วยการสอนตำราพิชัยสงคราม ตามแบบแผนที่ได้สร้างรูปแบบไว้ ซึ่งมีหัวหน้าชื่อ เฝิงหวง ( เปิงโหวหยัน )

 

 

*โปรดฯให้ขุนนางชื่อ หลิงหลุน ประดิษฐ์ขลุ่ยด้วยไม้ไผ่จากหุบเขาเซยกู๋ แล้วพัฒนาเป็นตัวโน้ต ๕ ตัว และมีระดับเสียง ๑๒ ระดับเหมือนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

 

 

*โปรดฯให้ หลี่โซว คิดค้นตัวเลขเพื่อใช้นับจำนวน

 

 

*โปรดฯให้สร้างระบบวัดความยาว มวล และน้ำหนัก

 

 

*โปรดฯให้ จางเจย ประดิษฐ์คิดค้นพัฒนาตัวอักษร โดยใช้วิธีการหกแบบ เพื่อสร้างตัวอักษรภาษาจีน

 

 

*โปรดฯให้หลอมทองเหลืองจากภูเขาโซว เป็นเงินตราเพื่อใช้แลกเปลี่ยนในการซื้อขาย

 

 

*โปรดฯให้สร้างและพัฒนาเรือและสร้างเกวียนด้วย

 

 

*โปรดฯให้นำดินเหนียวมาพัฒนาเป็นรูปอิฐเพื่อก่อสร้างบ้านเรือน

 

 

*โปรดให้ฯ ต้าหนา ประดิษฐ์คิดค้นระบบการนับเวลาที่เรียกว่า เจี่ยซื่อ จนเป็นปฏิทินจันทรคติที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยศึกษาจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และกำหนด วัน แบ่งย่อยเป็นชั่วโมงยามด้วย

 

 

*โปรดฯให้ยกเอาทองคำมีค่าเป็นอันดับหนึ่ง เงินเป็นอันดับสอง ส่วนทองแดง ทองเหลือง ตะกั่ว สังกะสี และดีบุก เป็นลำดับสุดท้าย ให้ราษฎรทำเป็นภาชนะใช้สอย ด้วยการให้ราษฎรไปขุดโลหะเหล่านั้นมาหลอมทำเป็นเครื่องใช้สอยสำหรับแผ่นดิน

 

 

*โปรดฯให้วิเคราะห์พืชเพื่อใช้เป็นยาสมุนไพรที่มีมาแต่สมัยพระเจ้าเอียนตี้ ซึ่งตำราการแพทย์นี้เรียกว่า หวงตี้เน่ยจิง มาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมีชื่อ หวงตี้ ฉีเป๋อ และ หลุยกง เป็นผู้ค้นคว้ารวบรวมขึ้น นอกจากนี้ยังได้ศึกษาวิธีการตรวจโรคด้วยการ  "แมะ"  คือการจับชีพจรที่ข้อมือเพื่อวินิจฉัยโรคอีกด้วย

 

 

*โปรดฯให้ขุนนางผูกดวงดูโชคเคราะห์ เพื่อทำนายว่า ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ ปีใดดีไม่ดี แล้วรวบรวมเป็นปฏิทินโหราศาสตร์ที่เรียกว่า อี้จิง

 

 

*โปรดฯให้หล่อระฆังขนาดใหญ่ ๑๒ ระฆัง และให้มีเสียงแตกต่างกัน

 

 

*โปรดฯให้สร้างเข็มทิศ

 

 

*โปรดฯให้ค้นคิดเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ เช่น ทำตะเกียบจากไม้ไผ่

 

 

*โปรดฯให้ปลูกต้นชา เพื่อปรุงน้ำชาที่พระองค์ทรงค้นพบโดยบังเอิญ และโปรดฯเสวยน้ำชาที่ทรงค้นพบ วิธีการชงน้ำชาด้วยการใส่น้ำร้อน

 

 

*โปรดฯให้กำหนดการแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น บ้าน หมู่บ้าน ตำบล และเรียกชื่อบ้าน หมู่บ้านและตำบล ในแต่ละแห่งจนถึงเมืองใหญ่เรียกว่า โจว

 

 

*โปรดฯให้ราษฎรทำนาและปลูกผักผลไม้ให้มากขึ้น

 

 

*โปรดฯให้พระนางเหลยจู่ฮองเฮามเหสี ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สำหรับทอผ้าแพรซึ่งคุณภาพดีกว่าผ้าป่านและปอที่นุ่งห่มกันมาก่อน โดยย้อมเป็นสีต่างๆ พระนางทรงย้อมเป็นสีเหลืองทรงตัดเป็นฉลองพระองค์มาถวาย พระเจ้าหวงตี้ทรงโปรดฯมาก ต่อมาสีเหลืองเป็นสีสัญลักษณ์ของฮ่องเต้

 

 

*โปรดฯให้เอาทองแดงจากภูเขาซื่อซานมาหล่อเป็นกระถางธูปขนาดใหญ่ลักษณะเป็นสามขา เพื่อใช้ประกอบพิธีบวงสรวงบรรพบุรุษ

 

 

*โปรดฯให้แยกหัวเมืองใหญ่ออกเป็น ๘ หัวเมืองตามทิศทั้งแปด แล้วโปรดฯให้ขุนนางผู้ใหญ่ไปครองเมืองเหล่านั้น

 

 

*ทรงสร้างพระราชวังด้วยพระองค์เอง พระองค์จึงทรงได้รับพระฉายาว่าเป็น ** พระบิดาแห่งสถาปัตยกรรม **

 

 

*โปรดฯให้ประดิษฐ์คันศรและลูกธนูเพื่อเป็นอาวุธ ซึ่งค้นพบโดยบังเอิญจากโอรสของพระองค์ คือ องค์ชายฮุ่ย

 

 

*โปรดฯให้สร้างเกราะเพื่อป้องกันลูกศรจากธนู

 

 

          เรื่องซานหวงอู่ตี้ หรือ สามมหาจักรพรรดิ ห้ามหาราชันย์ผู้ยิ่งใหญ่ ได้มีการกำหนดซานหวงไว้คือ

 

 

พระเจ้าฝูซีซื่อ ก่อน พ.ศ. ๓๔๙๖ ถึง ๓๓๙๕

 

 

พระนางหนิ่วอวาซื่อ

 

 

พระเจ้าเสินหนงซื่อ ก่อน พ.ศ. ๓๓๙๕ ถึง ๓๒๘๐

 

 

 

 

 

         ส่วนห้ามหาราชันย์มีดังนี้

 

 

๑) พระเจ้าหวงตี้ หรือพระเจ้าเซวียนเอวียน ก่อน พ.ศ. ๓๒๔๐ ถึง ๓๑๔๐

 

 

๒) พระเจ้าเส้าเฮ่า หรือ พระเจ้าจิ้นเทียนซื่อ ก่อน พ.ศ. ๓๑๔๐ ถึง ๓๐๕๖

 

 

๓) พระเจ้าเจวียนชวี หรือ พระเจ้าเกาเอี๋ยงซื่อ ก่อน พ.ศ. ๓๐๕๖ ถึง ๒๙๗๘

 

 

๔) พระเจ้าตี้คู่ หรือ พระเจ้าเกาซินซื่อ ก่อน พ.ศ. ๒๙๗๘ ถึง ๒๙๐๘

 

 

 

 

 

๖) พระเจ้าเหยาตี้ หรือ พระเจ้าถังเหยา หรือ พระเจ้าเต้าถัง ก่อน พ.ศ. ๒๘๙๐ ถึง ๒๗๙๘

 

 

๗) พระเจ้าซุ่นตี้ หรือ พระเจ้าอวี่ซุ่น ก่อน พ.ศ. ๒๗๙๘ ถึง ๒๗๔๘

 

 

        พระเจ้าหวงตี้ทรงเป็นหนึ่งในพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ๙ พระองค์ คือ

 

 

พระเจ้าฝูซีซื่อ

 

 

พระนางหนิ่วอวาซื่อ

 

 

พระเจ้าเสินหนงซื่อ

 

 

พระเจ้าหวงตี้

 

 

พระเจ้าเส้าเฮ่า หรือ พระเจ้าจิ้นเทียนซื่อ

 

 

พระเจ้าเจวียนชวี

 

 

พระเจ้าตี้คู่

 

 

พระเจ้าเหยาตี้

 

 

พระเจ้าซุ่นตี้

 

 

 

 

 

         แซ่สกุลที่สืบสายมาจากพระเจ้าหวงตี้เป็นต้นแซ่มี ๔ แซ่ คือ แซ่จี แซ่เริ่น แซ่เทิง และ แซ่จิน จากต้นแซ่เหล่านี้ได้แตกออกไปดังนี้

 

 

๑) ต้นแซ่ แซ่จี แตกออกไปเป็นแซ่ดังนี้

 

 

แซ่ไช่ ( ไฉ ฉั่ว ) ( Cai )

 

 

แซ่ไต๋ ( Dai )

 

 

แซ่ต้วน (Duan )

 

 

แซ่ฟาง ( Fang )

 

 

แซ่เฝิง (Feng )

 

 

แซ่กัว ( Gua )

 

 

แซ่หัน( Han ) แตกเป็นแซ่ เหอ ( He ) แซ่ปิง ( Ping )

 

 

แซ่เจี่ยง ( Jiang )

 

 

แซ่หลิน ( Lin )

 

 

แซ่หลิว ( Liu )

 

 

แซ่เซิน ( Shen ) แตกเป็นแซ่อิ๋ว ( You )

 

 

แซ่ซื่อ ( Shi )

 

 

แซ่ซุน (Sun ) แตกเป็นแซ่ฉี ( Qi )

 

 

แซ่หวัง ( Wang )

 

 

แซ่อู๋ ( Wu )

 

 

แซ่อี้ว ( Yu )

 

 

แซ่โจว ( Zhou )

 

 

๒) ต้นแซ่ แซ่เริ่น แตกออกไปดังนี้

 

 

แซ่ชาง ( Chang )

 

 

แซ่ซู ( Shu )

 

 

แซ่ซือ ( Xi )

 

 

แซ่ซุย ( Xue )

 

 

แซ่จาง ( Zhang )

 

 

๓) ต้นแซ่ แซ่เทิง

 

 

๔) ต้นแซ่ แซ่จิน

 

 

          พระเจ้าหวงตี้ทรงมีพระชนมายุยืนยาวถึง ๑๐๐ ปี บางตำนานว่าทรงมีพระชนมายุถึง ๑๑๘ ปี จากตำนานกล่าวว่าพระองค์เสด็จไปยังเหอหนาน เมื่อเสด็จมาถึงเมืองเชียว ทรงได้ยินเสียงจากท้องฟ้ากึกก้องลงมา ทันใดนั้นมีมังกรตนหนึ่งกายสีเหลืองได้ปรากฏขึ้นต่อหน้าพระพักตร์ เจ้า มังกรได้เชิญเสด็จประทับบนหลังของตน เพื่อนำเสด็จสู่สวรรค์ พระองค์ทรงทราบในเวลานั้นว่า ถึงเวลาที่จะต้องเสร็จสิ้นภารกิจบนโลกมนุษย์แล้ว ตามพระบัญชาแห่งสวรรค์ พระองค์จึงเสด็จขึ้นประทับบนหลังมังกร เมื่อเสด็จผ่านมาถึงเนินเขาเชียวซาน ทรงต้องการร่ำลาราษฎรจึงให้มังกรหยุดบนเนินเขา ราษฎรต่างพากันโศกเศร้าเสียใจ แล้วมังกรก็นำเสด็จขึ้นสวรรค์ คงเหลือไว้แต่ฉลองพระบาทและฉลองพระองค์บนเนินเขาเชียวซาน ราษฎรจึงช่วยกันทำพิธีฝังฉลองพระบาทและฉลองพระองค์บนเนินเขา

 

 

           สุสานของพระเจ้าหวงตี้ตั้งอยู่ที่ภูเขาเชียวซาน อำเภอหวงหลิง มณฑลส่านซี ห่างจากเมืองซีอานไปทางทิศเหนือประมาณ ๑๘๐ กิโลเมตร สุสานปกคลุมด้วยต้นสนไซเปรสกว่า ๖๐,๐๐๐ ต้น บางท่านว่าประมาณ ๘,๐๐๐ ต้น แต่ละต้นมีอายุยืนยาวเป็นร้อยๆปีบางส่วนเป็นพันปี สุสานห่างจากเมืองยันอันประมาณหนึ่งกิโลเมตร เนื้อที่ของสุสานทั้งหมดประมาณ ๔ ตารางกิโลเมตรรวมทั้งเนินเขา ห่างจากหลุมพระศพด้านหน้า ๔๐ เมตรเป็นลานพื้นสูง ๒๐ เมตร มีโต๊ะหินอยู่ด้านหนึ่ง ประกอบข้อความสลักว่า “ฮั่นอู่เซียนไต้” ซึ่งสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ (ก่อน พ.ศ. ๖๘๓ – ๖๓๐ ) โปรดฯให้สร้างไว้เมื่อก่อน พ.ศ. ๖๕๓ เพื่อทรงบวงสรวงสักการะเซ่นไหว้พระเจ้าหวงตี้ ในโอกาสเสด็จผ่านสุสานแห่งนี้ อย่างไรก็ตามกล่าวกันว่า พระเจ้าฉินหลิงกง แห่งอาณาจักรฉินได้เสด็จมาทรงสักการะพระเจ้าหวงตี้ที่สุสานแห่งนี้เมื่อ ก่อน พ.ศ. ๙๘๕ซึ่งถือได้ว่าเป็นพระองค์แรกที่ได้เสด็จมา นอกจากนี้ยังมีสมเด็จพระจักรพรรดิองค์อื่นๆและพระราชวงศ์หลังๆได้ทรงปฏิบัติเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะหลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ใหม่ๆหรือในวันบวงสรวงบรรพบุรุษ และยังได้บูรณปฏิสังขรณ์ขยายให้ใหญ่ดูสง่าสมกับฐานะและผลงาน สุสานพระเจ้าหวงตี้ได้รับการยกย่องจากทางการให้เป็นสุสานแห่งชาติ เมื่อถึงวันสำคัญของชาติ ก็จะมีการบวงสรวงเซ่นไหว้ทุกปี

 

 

 

        :  สมบูรณ์ แก่นตะเคียน      ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐

 

 

 

Title :   Huang Di

 

       :   Somboon Kantakian

 

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน