Bookmark and Share Add to Favorites  
สมาคม
  LIN (SURNAME)
   China's Lin Clan Network
   Chaoshan Lin
   สมาคมตระกูลลิ้มแห่งประเทศไทย
  ชุมชนชาวฮากกา
หนังสือพิมพ์
  ซินหัวไทย
  China Daily
  China News
  People's Daily Online
  Xinhua
  China Youth Daily
  Bangkokpost
  มติชน
  ไทยรัฐ
  เดลินิวส์
  ผู้จัดการ
  คมชัดลึก
  กรุงเทพธุรกิจ
  บ้านเมือง
  แนวหน้า
  ไทยโพสต์
  โพสต์ทูเดย์
  สยามรัฐ
  บางกอกทูเดย์
  โลกวันนี้
  เส้นทางเศรษฐกิจ
  มติชนสุดสัปดาห์
มุมนักเสี่ยงโชค
  ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
  ตรวจสลากย้อนหลัง
  ผลสลากออมสิน
  ธกส.ออมทรัพย์ทวีสิน
แลกเปลี่ยนเงินตราและหุ้น
  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  ธนาคารไทยพาณิชย์
  ธนาคารกรุงเทพ
  ตลาดหลักทรัพย์ - หุ้น
  ตลาดหุ้น
เว็บเครือข่าย
  สมบูรณ์อินโฟ
  ภูเก็ตสารสนเทศ
  สมบูรณ์แก่นโน้ต

ภาคที่ ๑ ปฐมบทสกุลหลิน

 

ความหมาย

 

          คำว่า แซ่หลิน ใช้อักษรภาษาจีนว่า             ซึ่งมีการอ่านออกเสียงแตกต่างกันไปตามภาษาพื้นเมืองของคนจีน หรือคนจีนไปอยู่ เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม  แต่เขียนแบบเดียวกันตามตัวอย่าง  การออกเสียงคำนี้ตามท้องถิ่น มีดังนี้

                     หลิม  ( Lim )    ฮกเกี้ยน

                     ลิ้ม   ( Lim )    แต้จิ๋ว

                     หลิน   ( Lin )    แมนดาริน

                     หลัม ( Lum ) , เหล่ม( Lem )  กว่างตง -กวางตุ้ง

                     แหล่ม  ( Lam )   ไหหลำ  เวียดนาม

                     ลิม    ( Lim )   อิม  ( Im )   เกาหลี

                     หริน  ( Rin )  ฮายาชิ  ( Hayashi )   ญี่ปุ่น

                     เหลี่ยม   ( Liem )   อินโดนีเซีย

 

                          ส่วนภาษาไทยใช้แตกต่างกันตามเสียงอ่านและเขียน  ตามภาษาท้องถิ่นเดิมของพวกเขา  เช่น  หลิม หลิน ลิม ลิ่ม ลิ้ม  ฯลฯ  และที่แปลงเป็นนามสกุลภาษาไทยก็มีมากมาย  จนบางครั้งตัวเองไม่ทราบด้วยว่ามีต้นตระกูลเป็นแซ่หลิน

    คำว่า หลิน แปลว่า  ป่าไม้  เพราะบุคคลที่เป็นต้นแซ่สกุลได้ถือกำเนิดในป่า

 

บรรพบุรุษผู้เป็นต้นแซ่สกุลหลิน

         แซ่หลิน สืบสายมาจาก   พระเจ้าหวงตี้ 黄帝 หรือจักรพรรดิเหลือง ผู้ทรงเป็นต้นแซ่ มี ๓  แซ่ คือ  แซ่จี(จิ๊)   แซ่เหยินหรือเยิ่น   แซ่ถางหรือเถิง    

            ต้นแซ่  แซ่จี    แตกออกไปเป็นแซ่ต่างๆ  ดังนี้

                      แซ่ไช่ 

                      แซ่ไต้ 

                      แซ่ต้วน 

                      แซ่ฟ่าง

                          แซ่เฝิง

                         แซ่กั๊ว

                     แซ่หาน   แตกเป็น แซ่เหอ   แซ่ผิง 

                     แซ่เจี่ยง 

                     แซ่หลิน 

                     แซ่เหลียว

                     แซ่เสิน          แตกเป็นแซ่โหยว

                     แซ่ฉิ๋

                          แซ่ซุ่น          แตกเป็นแซ่ฉี  

                         แซ่หวาง

                     แซ่อู๋ 

                     แซ่อิ๋ 

                     แซ่เจิ้ง

                     แซ่โจว

ดังนั้น  แซ่หลิน  ต้นแซ่จึงมาจาก แซ่จี  

 

 

 ปิเจียนกงผู้ได้รับพระราชทาน “แซ่หลิน”

 

          ปิเจียนกง หรือ ปิเกียน หรือ เจี้ยน หรือ ฉางหลิน   เป็นโอรสองค์สุดท้ายของ องค์ชายจีปิก้านกง กับ เฉินซื่อฮูหยิน  ปิเจียนถือกำเนิดที่ป่าบริเวณใกล้ลำธาร หุบเขาตงซาน ตำบลฉางหลิน อำเภอเว่ยฮุ่ย มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน ประมาณ ก่อนพ.ศ.  ๑๐๔๙ ( บางตำนานว่า ก่อน พ.ศ. ๑๑๒๕ )  มารดาตั้งชื่อเล่นให้ว่า  ฉวน  แปลว่า ลำธาร  ในสมัยพระเจ้าซังตี้ซิน หรือ โจ้วหวาง แห่งราชวงศ์ซัง  ปิเจียน  เป็นคน  แซ่จี  ตามวงศ์กษัตริย์ราชวงศ์ซัง

          องค์ชายจีปิก้านกง 比干 ทรงเป็นโอรสองค์ที่สองของพระเจ้าซังไท่ติง ( จีตั้ว )  องค์ชายจีปิก้านมีพระเชษฐาคือ องค์ชายจีเซียน  และพระอนุชาคือองค์ชายจีกีจื้อ  หลังจากพระเจ้าซังไท่ติงเสด็จสวรรคตแล้ว  องค์ชายจีเซียนเสด็จขึ้นครองราชย์  ทรงพระนามว่า  พระเจ้าซังตี้อี่  องค์ชายจีปิก้านและองค์ชายจีกีจื้อ ต่างก็รับราชการเป็นขุนนางมาตั้งแต่สมัยพระราชบิดา   ต่อมาพระเจ้าซังตี้อี่เสด็จสวรรคต  โอรสองค์ชายรองคือ องค์ชายจีโจ้วเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ  ทรงพระนามว่า  พระเจ้าซังตี้ซิน หรือ พระเจ้าโจ้วหวาง  ประมาณก่อน พ.ศ.  ๑๐๗๘  ต่อมาถึง ก่อนพ.ศ.   ๑๐๕๖  พระนางฮองเฮาเสด็จสวรรคต  พระเจ้าตี้ซินยกพระสนมฐาจีขึ้นเป็นฮองเฮา  เมื่อพระองค์พระชนมายุได้  ประมาณ  ๔๕  พรรษา

          ตั้งแต่พระองค์ทรงมีพระสนมฐาจี  ทรงลุ่มหลงนาง  ไม่ทรงออกว่าราชการ  ทรงเชื่อคำเพ็ดทูลของนางและพวกขุนนางกังฉินสอพลอ  พวกขุนนางผู้ใหญ่กราบทูลก็ไม่ทรงเชื่อฟัง  กลับทรงพระกริ้วทำโทษขุนนางผู้ใหญ่เหล่านั้น  ข้างหัวเมืองต่างแข็งข้อจึงทรงส่งทหารไปปราบปราม  การลงโทษพวกขุนนางด้วยวิธีการทรมานที่เหี้ยมโหดแบบต่างๆ เช่น ให้เดินบนแผ่นทองแดงร้อนๆ ให้มัดโอบเสาทองแดงที่สุมไฟไว้ โยนลงบ่องูพิษ  ฯลฯ  รับสั่งให้สร้างตำหนักขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้ราษฎรเดือดร้อน  พระองค์กับพระนางฐาจีต่างพนันกันว่าผู้หญิงมีครรภ์คนนั้น เด็กในท้องเป็นหญิงหรือชาย  ด้วยการจับมาแหวะท้องดู

          ข้างองค์ชายจีปิก้านซึ่งโดยฐานะแล้วเป็นพระเจ้าอา เป็นขุนนางผู้ใหญ่กราบบังคมทูลทัดทานให้ละเลิก ทรงกริ้วรับสั่งให้แหวะอกควักหัวใจออกมาจนสิ้นพระชนม์  นางเฉินซื่อฮูหยินพร้อมกับคนใช้จึงพากันหนีออกจากเมือง ออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ขณะที่กำลังตั้งครรภ์ได้สามเดือน  ถึงหุบเขาตงซานมีลำธารไหลผ่านมีถ้ำเล็กๆบนภูเขาให้หลบภัย   คือตำบลมู่เหย่หรือฉางหลิน อยู่ระหว่าง อำเภอเว่ยฮุ่ยกับอำเภอฉี มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน  ประมาณ ก่อนพ.ศ. ๑๐๔๙  เฉินซื่อได้ให้กำเนิดบุตรชายและตั้งชื่อว่า  ฉวน   แปลว่า ลำธาร  หลังจากนั้นอีกประมาณ ๓ ปี  พระเจ้าตี้ซินถูกพิชิตโดยกองทัพของจีฟา โอรสของจีช่างหวาง เสด็จสวรรคตที่เมืองเฉาเกอและราชวงศ์ซังก็ล่มสลาย  จีฟาเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ  ทรงพระนามว่า พระเจ้าโจวอู่หวาง ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์โจว  เมื่อ ก่อน พ.ศ.  ๑๐๔๖  ( บางตำนานว่า ก่อน พ.ศ.  ๑๑๒๒ )  ขณะที่ฉวนอายุได้ประมาณ ๓ ขวบ

 

แซ่หลินรุ่นที่ ๑ หลินปิเจียนกง 林比  

         

        พระเจ้าโจวอู่หวางโปรดฯให้เจียงไท่กง  ทำรายชื่อผู้มีความดีความชอบในการสู้รบทั้งสองฝ่ายคือ ฝ่ายพระเจ้าโจวอู่หวางกับฝ่ายพระเจ้าซังตี้ซิน  แล้วโปรดฯให้สร้างสุสานฝังศพจีปิก้านกงซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเว่ยฮุ้ย มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน   แล้วเสด็จไปบวงสรวงเซ่นไหว้ที่สุสาน   รับสั่งให้นางเฉินซื่อฮูหยิน 夫人 และบุตรชายเข้าเฝ้า  พร้อมกับพระราชทานนามให้ฉวนใหม่ว่า  “เจียน หรือ เจี้ยน ”  และพระราชทานแซ่ให้เจียนว่า  “หลิน” ซึ่งแปลว่า “ป่าไม้”  เพราะเจียนถือกำเนิดในป่า  เป็น หลินเจียน 林堅 พร้อมทั้งให้ความอุปถัมภ์แก่ครอบครัวนี้  พระองค์อยู่ในราชสมบัติได้เพียง ๖ ปีก็เสด็จสวรรคต  องค์ชายจีซ่งเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อมาทรงพระนามว่า  พระเจ้าโจวเฉิงหวาง  ทรงอยู่ในราชสมบัติระหว่างก่อน พ.ศ.  ๑๐๔๒ – ๑๐๒๑  หลินเจียนเมื่ออายุได้ ประมาณ ๑๕ ปีก่อน พ.ศ.  ๑๐๓๔   ได้เข้ารับราชการในรัชกาลนี้

          พระเจ้าโจวเฉิงหวางเสด็จสวรรคตประมาณก่อน พ.ศ.  ๑๐๒๑  องค์ชายจีจาวขึ้นครองราชย์ ก่อน พ.ศ. ๑๐๒๐ เป็นพระเจ้าโจวคังหวาง  ซึ่งขณะนั้นหลินเจียนอายุได้ประมาณ  ๒๙ ปี  จึงโปรดฯให้หลินเจียนไปเป็น จูโหว เจ้าเมืองปั๋วหลิง

        สมัยก่อนจากราชวงศ์โจว คือราชวงศ์ซัง และก่อนนั้นคือราชวงศ์เซี่ย ฐานันดรศักดิ์ของกษัตริย์คือ หวางหรืออ๋อง สูงสุด หากเป็นโอรสกษัตริย์ เรียกว่า กงจื่อ 公子 หรือเป็นองค์ชาย ต่อมาสมัยหลังเรียกว่า หวางหรืออ๋อง เป็น หวางจื่อ  王子 หากเป็นองค์หญิงเรียกว่า กงจู้  公主 ส่วนตำแหน่งขุนนางทั่วไป ได้แก่ ชั้น โหว สูงสุด ชั้นปั๋ว ชั้นจื่อ    และชั้นหนาน   ต่ำสุด เหล่าบรรดานายพลทั้งหลายเมื่อได้เป็นชั้นโหวแล้ว มีความปรารถนาที่จะไปครองหัวเมืองใหญ่ จะได้ตำแหน่ง จูโหว 諸侯 เจ้าเมืองที่มีอำนาจเต็มในการจัดเก็บภาษี จัดการทหาร ปกครองราษฎร สามารถขยายอาณาเขตออกไปกลายเป็นนครรัฐได้ เจ้านครรัฐเหล่านี้ต่อมาได้เป็น กง ซึ่งเทียบเท่าอ๋องในสมัยหลัง แต่ก็ยังขึ้นตรงต่อกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจว ต้องเข้าเฝ้า ต้องส่งทหารไปช่วยรบ ส่งบรรณาการ แต่ส่วนใหญ่แล้วตำแหน่งนี้มักเป็นเชื้อพระวงศ์ที่กษัตริย์ทรงส่งไปปกครอง และสามารถสืบตำแหน่งต่อไปยังบุตรหลานญาติพี่น้องได้ ถ้าเมืองของตนไม่ล่มสลายเสียก่อน เพราะสมัยเลียดก๊ก หรือชุนชิว หรือสมัยราชวงศ์โจว มีการรบรา แย่งกันเป็นใหญ่ เจ้านครรัฐที่เข้มแข็งจึงอยู่ได้นาน เจ้านครรัฐบางรัฐได้เกณฑ์ให้ราษฎรในเมืองของตนใช้แซ่เดียวกับตนทุกคน อาจจะเพื่อสะดวกในการเตรียมกองทัพ การใช้สัญลักษณ์ของกลุ่มรัฐก็ได้ คนที่ไม่พอใจจึงอพยพไปอยู่รัฐอื่นก็มี 

         เมื่อหลินปิเจียน มีผลงานในการสู้รบจนไต่เต้าขึ้นไปสู่ตำแหน่งชั้นนายพลทหาร ด้วยอายุประมาณ ๒๙ ปี จึงได้รับพระราชทานให้เป็นเจ้าเมือง หรือ จูโหว ที่เมืองปั๋วหลิง 博陵 ปัจจุบันคือเขตอันผิง 安平   เมืองเหิงสุ้ย 衡水市 มณฑลเหอเป่ย    ด้วยการปกครองคน ๒๐๐๐ ครัวเรือน ปกคลุมพื้นที่ ๒๔๐ ตำบล หลินเจียนและเจียงฮูหยิน 蔣夫人 ภรรยาพร้อมด้วยครอบครัวและเหล่าญาติรวมทั้งทหารผู้ติดตาม จึงได้ไปบุกเบิกสร้างบ้านแปงเมืองที่ตำบลนี้ ด้วยการปลูกข้าวสาลี เลี้ยงวัวแพะแกะการเกษตรตลอดจนพัฒนาด้านสังคมของราษฎรในชุมชน พร้อมฝึกปรือทหาร จนต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นชั้น กง    เป็นปั๋วหลิงกง 博陵 ซึ่งบุตรหลานของท่านสามารถสืบตำแหน่ง กง ที่เมืองนี้ได้ต่อไป   

        จากหลักศิลาจารึกหลักหนึ่งบริเวณสุสานปิก้านกง  ได้สลักไว้เมื่อ พ.ศ.  ๒๐๘๑  เป็นปีที่ ๘ รัชสมัยฮ่องเต้หมิงซื่อจง  ( จูโฮ่วชง )  แห่งราชวงศ์หมิง ว่า  “ปิเจียน  บุตรปิก้านกง หลบภัยในป่า ใช้แซ่หลินเป็นสกุล”  นอกจากนี้นักโบราณคดีได้ทำการขุดค้นที่วัดแม่ชีเชียงฉาง  ตำบลซื่อเป่าโถ เขตเว่ยฮุ่ย บริเวณภูเขาตงซาน  ได้พบเศษศิลาจารึกหลักหนึ่งข้อความว่า  “ที่กำเนิดเจียนกง บุตรปิก้านกง”

          สาแหรกของหลินปิเจียนกง  ถึงพระเจ้าซังทังต้นราชวงศ์ซัง  หลินปิเจียนกงเป็นรุ่นที่  ๑๗  หากนับไปถึง ซังเจี่ย  บรรพบุรุษของพระเจ้าซังทัง  เป็นรุ่นที่  ๓๑  ถ้านับไปถึงพระเจ้าหวงตี้  หลินปิเจียนกง เป็นรุ่นที่  ๓๕

          หลินปิเจียนกง ถือกำเนิดจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำหวงเหอ  คือ  ซีเหอ 西河 บุตรหลานของหลินปิเจียนกงจึงได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “ซีเหอ”ของตระกูลแซ่หลิน  หลินปิเจียนกงจึงเป็นบรรพบุรุษต้นแซ่ของ “แซ่หลิน”   มากว่า ๓๖๐๐ ปีมาแล้ว หลินปิเจียนกงจึงเป็นแซ่หลิน รุ่นที่ หนึ่ง

 

 

 

แซ่หลินรุ่นที่ ๒ หลินฉางหมิงหรือหลินจ๋าย และ  หลินชึจ๊อง

           หลินเจียนกง มีบุตรหลายคน ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักได้บันทึกไว้ในปูมประวัติตระกูลแซ่หลิน  มีสองคน  คนพี่ชื่อ   ฉางหมิง 林长铭หรือจ๋าย เป็นเจ้าเมืองจีโจว ( กิจิ๋ว )  ในรัชสมัยพระเจ้าโจวคังหวาง  ( จีจาว )             ส่วนน้องชายชื่อ ชึจ๊อง   เป็นนายพลทหารตำแหน่ง ซือหม่า    ในสมัยพระเจ้าโจวจาวหวาง  ( จีเสีย ) แห่งราชวงศ์โจว

          หลินฉางหมิงหรือจ๋าย มีภรรยาคือ จูฮูหยิน มีบุตรด้วยกันสามคน คือ  หลินคัวะ หลินสือ และหลินหยาน

 

              เหล่าบรรดาญาติที่ติดตามมาจากเมืองหลวง เมื่อมาอยู่ที่เมืองปั๋วหลิง ต่างใช้แซ่หลินกันทุกคน รวมทั้งผู้ที่ไม่มีแซ่หรือผู้ที่เคารพรักหลินปิเจียนต่างใช้แซ่หลิน นับเป็นรุ่นที่ ๒ พวกลูกหลานเหลนจึงใช้แซ่หลินสืบเนื่องกันมา เมื่อบางคนเห็นว่าเมืองอื่นน่าสนใจที่จะไปศึกษาหาความรู้ จึงออกเดินทางไปยังเมืองนั้นๆ แล้วไปตั้งรกรากที่เมืองนั้น ในสมัยนั้น นครรัฐที่สำคัญ เช่น รัฐฉี รัฐอู๋ รัฐเว่ย รัฐจ้าว รัฐเยี่ย รัฐหลู่ รัฐจิ้น รัฐเจิ้ง รัฐแหยน(เยี่ยน) รัฐฉู่ เป็นต้น พวกเขาต่างเข้ารับราชการในแต่ละนครรัฐ คนแซ่หลินหลายท่านต่างมีชื่อเสียงในการเป็นขุนนางระดับต่างๆ

          แต่บรรพชนแซ่หลิน ก็ยังคงอาศัยสืบเนื่องกันมาเป็นพันปี มีบางส่วนที่เคลื่อนย้ายไปทำมาหากินยังเมืองอื่น  เหล่าบรรดาบุตรหลานยังคงอาศัยอยู่ที่เมืองจีโจว ปั๋วหลิง ในมณฑลเหอเป่ย บริเวณอำเภออันผิง 安平 ปัจจุบันอยู่ในเมืองเหิงสุ้ย อำเภอหลี่เชี่ยน ปัจจุบันอยู่ในเมืองป่าวติง อำเภอถัง ปัจจุบันอยู่ในเมืองป่าวติง ใกล้แม่น้ำหวงเหอ เดิมชื่อแม่น้ำฉีสุ้ย ปัจจุบันคือแม่น้ำชามฝั่งตะวันตก ทั้งหมดอยู่ในมณฑลเหอเป่ย ดังนั้นแซ่หลินกลุ่มนี้ได้ชื่อว่า แซ่หลินตะวันตก  西

        แต่ที่มีการนับถือกันว่า ตระกูลแซ่หลินดั้งเดิมนั้นอาศัยอยู่ที่เมืองหลี่ซื่อ 石区 จังหวัดลิ่วเหลียง 吕梁市 มณฑลซานซี 山西省 ซึ่งติดชายแดนมณฑลเหอเป่ยทางทิศตะวันออก ทางทิศใต้ติดแดนมณฑลเหอหนาน ส่วนทางทิศตะวันตกติดแดนมณฑลส่านซี 

 

                     :   สมบูรณ์ แก่นตะเคียน     ๑๒  มีนาคม  ๒๕๕๔
        

 

 

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน